l-eperon-de-biscarrosse.com

สมัครเล่นบาคาร่าออนไลน์ สมัครสมาชิก ทีมงานดูแลตลอด 24 ชม

การศึกษา คณะวิทย์

คณะวิทย์ ม.ธรรมศาสตร์ ห่วงหนี้คนไทยพุ่ง ต้นเหตุจากการพนัน-เล่นหวย

คณะวิทย์ ม.ธรรมศาสตร์ ห่วงสถานการณ์ “หนี้คนไทย” สาเหตุจากการพนัน-เล่นหวย มีโอกาสลามไปสู่การเป็นหนี้นอกระบบ

เพิ่มวงจรการเป็นหนี้ไม่จบสิ้น เผยงานวิจัย “เล่นหวย” โอกาสถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัวมีแค่ 1 ใน 100 ต้องซื้อติดต่อกัน 100 งวด ใช้เวลา 4 ปี 2 เดือนถึงถูก 1 ครั้ง ส่วนรางวัลที่ 1 โอกาสถูก 1 ในล้าน

วันที่ 4 เมษายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล และอาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ภาวะหนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความอ่อนไหวต่อระบบเศรษฐกิจไทย และส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่สะท้อนปัญหาปากท้อง

โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มนักเล่นการพนัน อาทิ ลอตเตอรี่ หวยใต้ดิน พนันฟุตบอล หรือพนันออนไลน์ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมให้สามารถเข้าถึงการพนันรูปแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยมีความเชื่อและพฤติกรรมร่วมของผู้ที่เล่นการพนันว่า “ต้องเล่นอีกเพื่อถอนทุนคืน” และ “ยิ่งเล่นมาก กระจายเล่นหลาย ๆ กอง ยิ่งมีโอกาสได้สูง”

งานวิจัยเผยเล่นหวยโอกาสถูกรางวัลน้อยมาก

ซึ่งที่ผ่านมา คณะวิทย์ มธ. มีงานวิจัยเรื่อง “ผลตอบแทนที่คาดจะได้รับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากเลขท้าย” ที่สะท้อนผลลัพธ์โอกาสหรือความเป็นไปได้ของการเล่นการพนันรูปแบบต่าง ๆ คือ โอกาสเสียมีมากกว่าได้

“ส่วนหนึ่งของงานวิจัยดังกล่าว ได้เปิดเผยถึงโอกาสโชคดีที่จะถูกรางวัลแจ็กพอต หรือเป็น “วินเนอร์” ที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก ยกตัวอย่างการออกรางวัลเลขท้าย 2 ตัว ซึ่งมีโอกาสเพียง 1 ใน 100 ที่ต้องซื้อเลขเดียวกันต่อเนื่องอย่างน้อย 100 งวด เพื่อให้มีโอกาสถูกรางวัลเฉลี่ย 1 ครั้ง หรือต้องใช้เวลาประมาณ 4 ปี 2 เดือน จึงจะมีโอกาสถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัว 1 ครั้ง และโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะถูกรางวัลที่ 1 ซึ่งมีโอกาสเพียง 1 ในล้าน”

นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังได้แสดงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ เปรียบเทียบระหว่างหวยบนดิน และลอตเตอรี่ ว่ามีโอกาสขาดทุนมากน้อยเพียงใด ซึ่งพบว่าโดยเฉลี่ยจะมีโอกาสขาดทุนในทุกเกม อยู่ที่ประมาณ 35-70% ของเกมที่เล่น ซึ่งกรณีที่ซื้อลอตเตอรี่ มีเปอร์เซ็นต์ขาดทุนประมาณ 40% ของทุกเกม

หากเลขท้าย 2 ตัว มีเปอร์เซ็นต์ขาดทุนประมาณ 35% และประเภทที่มีเปอร์เซ็นต์ขาดทุนมากที่สุด คือ การเล่น 3 ตัวโต๊ด ที่มีเปอร์เซ็นต์ขาดทุนสูงถึง 70% ขณะที่ผู้เล่นที่ใช้เทคนิคการซื้อกวาด ซื้อกระจายเพื่อเพิ่มโอกาส ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสถูกรางวัลมากขึ้นนั้น เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงบางส่วน เพราะเมื่อพิจารณาจากจำนวนการเล่น กับเงินที่ต้องจ่ายก็มากขึ้นตามไปด้วย เมื่อเทียบกับเงินรางวัลที่มีโอกาสได้ จึงไม่ใช้วิธีการที่คุ้มค่าตามความเชื่อของผู้เล่น

ห่วงเทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกซื้อสลากออนไลน์-เกมพนัน

รองศาสตราจารย์ ดร.วราฤทธิ์กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงจากสถานการณ์หนี้คนไทยที่มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการพนันในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีที่เพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงการซื้อสลากออนไลน์ การเล่นเกมพนันต่าง ๆ ทั้งจากเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น ซึ่งเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงด้วยกระบวนที่เข้าใจง่าย มีวิธีการสื่อสารที่ดึงดูด และบางแห่งมีวงเงินพร้อมใช้สำหรับกู้ยืมโดยใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว ที่เพิ่มปัจจัยการเป็นหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

และในจำนวนนี้เชื่อมโยงกับปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งยิ่งทำให้วงจรการเป็นหนี้ขยายวงกว้างและยาวนานออกไปอีก อีกทั้งสถานการณ์ที่เปราะบางกับกลุ่มเยาวชน ที่อาจเข้ามาสู่วงจรการพนันและการเป็นหนี้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

“หากมองด้วยเงื่อนไขสิทธิส่วนบุคคล อาจทำให้เรื่องของการเล่นการพนัน เป็นสิ่งไม่สามารถสั่งห้ามกันได้โดยตรง ซึ่งหากมีการนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโอกาสหรือความเป็นไปได้ในการถูกรางวัลหรือการเป็นผู้ชนะในเกมพนันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ประชาชนเกิดการรับรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่น

และผลเสียจากการที่ไม่สามารถควบคุมความถี่และจำนวนเงินในการเล่นจนเกิดเป็นหนี้สินจากการพนัน ในที่สุด โดยคณะวิทย์ มธ. มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าควรลดความถี่ในการโปรโมตการเข้าถึงการพนันทุกรูปแบบ แม้ว่าจะเป็นการออกรางวัลที่ถูกกฎหมายก็ตาม เนื่องจากหากมองพฤติกรรมของผู้เล่นในปัจจุบัน ที่มีกระแสความนิยมในสังคมไทยอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นต้องมีการโปรโมตเพื่อกระตุ้นความสนใจและสร้างภาพจำว่าการพนันหรือการวัดดวงเป็นเรื่องปกติของสังคม โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวบุคคลถูกรางวัลใหญ่ของแต่ละงวด”

นักพนันหน้าใหม่มีกว่า 8 แสนคน

รองศาสตราจารย์ ดร.วราฤทธิ์กล่าวว่า ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ ศึกษาสถานการณ์และผลกระทบการพนันในประเทศไทย ปี 2564 พบว่าคนไทยเล่นการพนันร้อยละ 59.6 หรือประมาณ 32.33 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ 1.9 ล้านคนเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562

จำนวนนี้เป็นผู้ที่เล่นพนันครั้งแรกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา หรือเรียกว่า “นักพนันหน้าใหม่” เกือบ 8 แสนคน ที่น่ากังวลคือ ร้อยละ 29.5 ของประชากรเด็ก อายุ 15-18 ปี ที่เล่นการพนัน มีวงเงินหมุนเวียนรวม 29,155 ล้านบาท และร้อยละ 54.6 ของเยาวชน อายุ 19-25 ปี ที่เล่นการพนัน มีวงเงินหมุนเวียนรวม 93,321 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีแนวโน้มผู้เล่นที่เพิ่มขึ้น และวงเงินพนันหมุนเวียนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยการพนันที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน

การศึกษา คณะวิทย์

ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) เมื่อเดือนมีนาคม 2565 พบว่าคนไทยเป็นหนี้สูงถึง 37% หรือราว 1 ใน 3 ของประชากรไทย หรือราว 25 ล้านคน ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยประมาณ 57% ของผู้ที่มีหนี้ จะมีหนี้สินตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป และกลุ่มผู้ที่มีหนี้ตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป มีถึง 14% โดยสามารถแยกหนี้ตามประเภทต่าง ๆ สูงสุด 3 อันดับแรก คือ

    1. สินเชื่อส่วนบุคคล 39%
    2. บัตรเครดิต 29%
    3. การเกษตร 12%

สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย มีรายงานว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปี 2564 ที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงถึง 90.1% ก่อนจะปรับลดลงมาในไตรมาส 3 ปี 2565 ที่ระดับ 86.8% โดยมีสาเหตุสำคัญ 8 ด้าน ได้แก่

    1. เป็นหนี้เร็วตั้งแต่เริ่มวัยทำงาน
    2. เป็นหนี้เกินตัว ทำให้รายได้เกินกว่าครึ่งต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้
    3. เป็นหนี้โดยไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนหรือถูกต้อง
    4. เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น
    5. เป็นหนี้นาน
    6. เป็นหนี้เสีย
    7. เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น
    8. เป็นหนี้นอกระบบ

“ในส่วนของหนี้นอกระบบ พบว่า 42% ของกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,600 ครัวเรือนจากทุกภูมิภาคของไทย มีหนี้นอกระบบเฉลี่ยรายหัวอยู่ที่คนละ 54,300 บาท ซึ่ง ‘การพนัน’ เป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของการเป็นหนี้นอกระบบ”

ข่าวการศึกษาเพิ่มเติม>>>>ม.หอการค้าไทย ชูนโยบาย Happy U มุ่งสร้างความสุขแก่นักศึกษาทุกด้าน

การศึกษา

ม.หอการค้าไทย ชูนโยบาย Happy U มุ่งสร้างความสุขแก่นักศึกษาทุกด้าน

ม.หอการค้าไทย ชูนโยบาย Happy U มุ่งสร้างความสุขแก่นักศึกษาทุกด้าน

การศึกษา

ทำอย่างไรให้นักศึกษาใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชูนโยบาย “Happy U” เน้นฟังเสียงคนรุ่นใหม่เป็นหลัก  ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เริ่มต้นปีใหม่ 2566 ม.หอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจ ซึ่งเป็นงานวิจัยในเชิงปริมาณและคุณภาพเกี่ยวกับความสุขของนักศึกษา ม.หอการค้าไทย พบว่านักศึกษารู้สึกว่าตัวเองมีความสุข ค่าเฉลี่ย 8.41 เต็ม 10 และหลังจากผ่านพ้นโควิด-19 นักศึกษาส่วนใหญ่ยังคงต้องการมาใช้ชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย โดยช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนออนไลน์มากกว่าการเรียนการสอนตามปกติในมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาไม่ได้มาทำกิจกรรม หรือมาใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อสถานการณ์โควิด-19 รุนแรงน้อยลง มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอน ซึ่งมีนักศึกษาทยอยกลับมาเรียนปกติ และพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ชอบใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

“ทางสภามหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ม.หอการค้าไทย จึงได้มีนโยบาย Happy U และให้โจทย์มาว่าต้องทำให้นักศึกษามีความสุข ทำให้นักศึกษาอยากมามหาวิทยาลัย อยากใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง รวมถึงได้ให้ลองนำแนวคิด Happy Model ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมาประยุกต์ใช้” ดร.มานะกล่าวต่อว่า ระบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย องค์ความรู้ หลักสูตรคงไม่ได้แตกต่างกัน แต่การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยที่จะได้รับย่อมแตกต่างกัน Happy Model ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะประกอบด้วย 4 ด้าน คือ กินดี อยู่ดี ออกกำลังกายดี และแบ่งปันสิ่งดี ๆ สู่ “Happy U” ของมหาวิทยาลัยซึ่งต้องการให้นักศึกษามีความสุข สิ่งแรกที่ดำเนินการ คือ การสอบถามความคิดเห็น รับฟังสิ่งที่นักศึกษาต้องการ

ติดตามข่าวสารของการศึกษาได้ที่นี่ >>>  พัฒนาโรงเรียนต้นแบบอ่านสร้างสุข สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข

การศึกษา

พัฒนาโรงเรียนต้นแบบอ่านสร้างสุข สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข

พัฒนาโรงเรียนต้นแบบอ่านสร้างสุข สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข

การศึกษา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว), สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 และองค์การบริหารส่วนตำบลผ่านศึกจ.สระแก้ว ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการวิจัยและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบอ่านสร้างสุข : อ่าน เขียน เรียนรู้ อย่างมีความหมาย สมวัย และมีความสุข (อ่าน อาน อ๊าน) ลดภาวะ Learning Loss โดยนางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายทำ MOU ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบอ่านสร้างสุข : อ่าน เขียนเรียนรู้ อย่างมีความหมาย สมวัย และมีความสุข หรือ “อ่าน อาน อ๊าน” โดยเลือกพื้นที่ อบต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ตามโรงเรียนขนาดเล็ก พัฒนาโมเดลต้นแบบส่งเสริมสถานศึกษาใช้การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขในเด็กปฐมวัย เชื่อมรอยต่อของวัยเรียนประถมศึกษา สู่การจัดการความรู้ที่ยั่งยืน ขยายผลในสถานศึกษาอื่นๆต่อไป เราเชื่อว่าแม้จะเป็นโรงเรียนที่ห่างไกล แต่หากครูได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ให้เด็กเป็นเจ้าของความรู้ ขณะที่ครูมีความเข้าใจระบบนิเวศสื่อ และออกแบบกิจกรรมการอ่านให้สอดคล้องวิถี และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆได้ โดยใช้ฐานที่แข็งแรงของการอ่านหนังสือให้เด็กฟังจะสามารถทำให้เด็กๆมีพัฒนาการการเรียนรู้อย่างก้าวกระโดด และแก้ปัญหา Learning Loss ได้

 

แนะนำข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : กรุงเทพฯ เมืองหลวงที่มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ข่าวการศึกษาออนไลน์

กรุงเทพฯ เมืองหลวงที่มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

กรุงเทพฯ เมืองหลวงที่มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไม่ต่างจากต่างจังหวัด

Highlight

  • เขตพระนครมีสัดส่วนระหว่างจำนวนโรงเรียน 2.91 แห่ง ต่อ 1,000 ประชากร ซึ่งถือว่ามากที่สุด มีโรงเรียนมัธยมสังกัด สพฐ. มากที่สุด และมีจำนวนนักเรียนต่อครูน้อยที่สุด ขณะที่มีจำนวนประชากรอายุ 0-18 ปี น้อยเป็นอันดับที่ 5
  • เขตที่มีจำนวนประชากรต่อ 1 โรงเรียนมากที่สุดคือ คันนายาว 7,971 คน เพราะมีโรงเรียนสังกัดรัฐบาลรวม 2 แห่ง แต่มีประชากรอายุ 0-18 ปี ถึง 15,942 คน
  • เขตพระนครซึ่งมีจำนวนประชากรวัยเรียนน้อย มีจำนวนโรงเรียนมาก และมีสัดส่วนระหว่างครูกับนักเรียนและห้องเรียนน้อยถูกจัดอยู่ในกลุ่มโรงเรียนที่มีคุณภาพมากกว่า มีคะแนนโอเน็ตมากกว่าและเป็นที่ต้องการมากเป็นลำดับต้นๆ
  • 3 เขตที่ไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สพฐ.เลย ได้แก่ เขตคลองสาน คันนายาว บางคอแหลม

เมื่อเปรียบเทียบรายเขต อัตราส่วนเฉลี่ยนักเรียนต่อห้องเรียนระหว่างกลุ่มที่มากที่สุดและน้อยที่สุดก็ต่างกันราว 2 เท่า อัตราส่วนนักเรียนต่อครูระหว่างอันดับที่มากที่สุดและน้อยที่สุดอยู่ที่ประมาณ 3 เท่า

หนึ่งในประเด็นที่มักถูกกล่าวถึงในการพัฒนากรุงเทพฯ คือ การศึกษา ดังจะเห็นได้จากในแผนพัฒนากรุงเทพฯ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 พ.ศ.2520-2524 จนถึงแผนพัฒนาระยะ 20 ปี พ.ศ.2556-2575 ที่มักจะมุ่งพัฒนาโรงเรียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน และให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับ โดยฉบับล่าสุดมุ่งหวังว่า “มีร.ร.สังกัด กทม.จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานครอบคลุมทุกระดับชั้น และมีการใช้หลักสูตรท้องถิ่นกรุงเทพฯ”

เช่นเดียวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่มักจะหยิบยกประเด็นการศึกษามาเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่มักเสนอว่า “พัฒนาโรงเรียนสังกัด กทม. ให้มีมาตรฐาน” ด้วยมิติต่างๆ กันไป เช่น เพิ่มการเรียนการสอนภาษาที่ 3 ร่วมด้วย

Rocket Media Lab ชวนสำรวจการจัดการศึกษาในเมืองหลวงแห่งนี้ เพื่อความเข้าใจสถานการณ์การจัดการศึกษาในกรุงเทพฯ ในขั้นแรกว่า โรงเรียนประถมฯ และมัธยมฯ กระจายตัวอย่างไรในแต่ละเขต สอดคล้องกับจำนวนประชากรมากน้อยเพียงใด แล้วที่ผ่านมามีการจัดสรรงบประมาณและมีปัญหาอย่างไรบ้าง

ข่าวการศึกษา-ปี2565
เรียนจบชั้นประถมฯ แต่ไม่มีโรงเรียนมัธยมฯ ให้ไปต่อ

การจัดการศึกษาของโรงเรียนในกรุงเทพฯ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีโรงเรียนหลายประเภททั้งโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และมหาวิทยาลัย สำหรับโรงเรียนที่อยู่ภายใต้กรุงเทพมหานครจะได้รับงบประมาณจัดสรรจากกรุงเทพฯ ผ่านสำนักการศึกษาและสำนักงานเขต นอกจากนี้การพัฒนาการศึกษายังต้องเป็นไปตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579 และแผนพัฒนากรุงเทพฯ ระยะ 20 ปีอีกด้วย

ในปี 2564 กรุงเทพฯ มีสถานศึกษาชั้นประถมฯ และมัธยมฯ สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพฯ 437 แห่ง และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 158 แห่ง รวม 595 แห่ง ส่วนโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมี 825 แห่ง ซึ่งคิดเป็นโรงเรียนสามัญศึกษา 729 แห่ง และโรงเรียนนานาชาติ 96 แห่ง

จำนวนประชากรที่มีอายุระหว่าง 0-18 ปีของกรุงเทพฯ ในปี 2564 มีจำนวนทั้งหมด 957,781 คน เขตที่มีประชากรในกลุ่มนี้มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ คลองสามวา 44,992 คน หนองจอก 42,762 คน บางขุนเทียน 42,439 คน สายไหม 39,765 คน และประเวศ 38,304 คน ส่วนเขตที่มีประชากรน้อยที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ 2,453 คน บางรัก 4,826 คน ป้อมปราบศัตรูพ่าย 5,086 คน ปทุมวัน 5,763 คน พระนคร 6,173 คน